HR TIPS

การดำเนินการทางวินัยที่หัวหน้างานและ HR ควรรู้

870    7777  

          ในการดำเนินการทางวินัยของหัวหน้างาน หรือ HR บาง ครั้งพบว่า ไม่มีการชี้แจงทำความเข้าใจในการดำเนินการทางวินัยหรือการลงโทษ ทำให้พนักงานไม่ยอมรับ มีการคัดค้านต่อต้านจากพนักงานหรือผู้แทนสหภาพแรงงาน โดยก่อให้เกิดผลกระทบต่อปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบการตามมา ซึ่งสาเหตุพอสรุปได้ ดังนี้

  1. หัว หน้างานไม่รู้กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของบริษัท จึงดำเนินการทางวินัยตามที่เห็นว่าน่าจะทำได้ เช่น พนักงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ Safetyหัวหน้างานกำหนดระเบียบของหน่วยงานว่าจะลงโทษด้วยการปรับครั้งละ 10 บาท โดยนำเงินที่ได้ไปใช้เป็นเงินกองกลางจัดสวัสดิการเครื่องดื่มกาแฟในเวลาพัก เป็นต้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประโยชน์กับพนักงาน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะหน่วยงานไม่สามารถสร้างระเบียบเกินกว่าที่กำหนดโดยบริษัท ทาง การบริหารจัดการถือว่าเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้องให้ความรู้ด้านความ ปลอดภัยในการทำงาน และกวดขันให้พนักงานปฏิบัติตามระเบียบ  นาย จ้างก็มีหน้าที่ในการจัดหาให้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามระเบียบ หัวหน้าหรือนายจ้างมีหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนตามระเบียบที่กำหนดเท่านั้น ไม่สามารถกำหนดเป็นอย่างอื่น เช่น การหักค่าจ้างเป็นค่าอุปกรณ์ความปลอดภัย ไม่สามารถทำได้ เป็นต้น
  2. หัว หน้างานไม่รู้กฎหมายแรงงาน โดยหัวหน้างานกำหนดระเบียบเพิ่มเติมเกินกว่ากฎหมายกำหนด เช่น มีพนักงานในหน่วยงานลาป่วยบ่อย หัวหน้างานจึงสั่งการว่าถ้าลาป่วยครั้งต่อไปแม้แต่วันเดียวก็ต้องมีใบรับรอง แพทย์มาแสดง มิฉะนั้นจะถือว่าขาดงาน ซึ่งไม่สามารถทำได้เพราะขัดแย้งกับกฎหมายแรงงานและไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างหัวหน้างานควรพูดคุยกับพนักงานสอบถามถึงสาเหตุการเจ็บป่วยและช่วยเหลือแนะนำการรักษาหรือการพาพนักงานไปปรึกษาแพทย์  แต่ หากเป็นการลาป่วยการเมืองเช่น พนักงานชอบดื่มสุราทำให้วันรุ่งขึ้นไม่สามารถมาทำงานได้ ก็ควรต้องมีการเยี่ยมเยียนพนักงานเมื่อหยุดงานไป หรือมีการตักเตือนให้โอกาสพนักงานได้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง
  3. HR ไม่ รู้กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทและไม่รู้กฎหมายแรงงานทำ ให้ไม่สามารถแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือหัวหน้างานได้ บางครั้งแนะนำไปในทางที่ผิด จึงก่อให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ได้ ดังนั้น HR ควรจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ด้วย
  4. HR  รู้ กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทและรู้กฎหมายแรงงานเป็นอย่าง ดี แต่ไม่ได้ให้คำแนะนำใดๆ แก่หัวหน้างาน หรือหัวหน้างานร้องขอให้ช่วยดำเนินการทางวินัยหรือการลงโทษ แต่ HRกลับเพิกเฉยเพราะไม่กล้าที่จะดำเนินการใดๆ กลัวว่าตนเองจะมีภัย ปิดหูปิดตา โดย การชะลอเรื่องไว้จนเรื่องเงียบหายไป หรือโยนกลับให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการเองก็มี ปัญหานี้หากไม่เร่งแก้ไข จะมีหน่วยงานอื่น หรือพนักงานคนอื่นเกิดความคิดว่าไม่เห็นบริษัทจะดำเนินการใดๆ กับพนักงานที่กระทำผิดเลย ทำให้มีพนักงานที่กระทำผิดวินัยโดยไม่ได้รับการลงโทษเพิ่มมากขึ้น
  5. HR หรือ หัวหน้างานเลือกดำเนินการทางวินัยเฉพาะพนักงานบางคนหรือเฉพาะบางหน่วยงาน ไม่ได้ปฎิบัติโดยเป็นธรรมทั่วถึง หรือมีการปกปิดการกระทำผิด ปัญหานี้ผู้บริหารต้องให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เพราะหลายครั้งปัญหาแรงงานสัมพันธ์บานปลายมีการประท้วงเกิดม็อบในโรงงานขึ้น จากการลงโทษเกินกว่าเหตุ เช่น ไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วลงโทษโดยการให้ออกทันที เป็นต้น

         ผู้บริหารควรหมั่นตรวจสอบให้ HR มี การถ่ายทอดความรู้ด้านกฎระเบียบและกฎหมายแรงงานให้หัวหน้างานได้มีความรู้ ที่ถูกต้องหรือให้การแนะนำช่วยเหลือ ตลอดจนการกำกับให้มีการดำเนินการทางวินัยอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการปกปิดการกระทำผิด และดำเนินด้วยความเป็นธรรมตามสาเหตุและการกระทำที่เกิดขึ้น

        การที่หัวหน้างาน หรือ HR จะ สร้างกฎระเบียบใดๆ เพิ่มเติม หรือดำเนินการใดๆ ซึ่งยังไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ควรจะได้มีการปรึกษาหารือกับผู้บริหารก่อน บางครั้งเป็นรายละเอียดของกฎหมายแรงงาน HR ก็ควรจะได้สอบถามหารือเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงใดๆ

 

เครดิต   http://www.oknation.net/blog/Smartlearning/2011/03/23/entry-2